ฟาร์มกระต่ายฮอลแลนด์ ลอป | Bunny Villa Rabbitry
Find us on Facebook
  • HOME
  • BUCK
  • DOE
  • JUNIOR
  • FORSALE
  • Holland Lop Color
    • Frosty
    • Chestnut
  • ARTICLES
    • ท่าโพสที่ถูกต้องของกระต่ายฮอลแลนด์ลอ
    • มาตราฐานสายพันธุ์กระต่ายฮอลแลนด์ลอป
    • ลักษณะและความสำคัญของคราวในกระต่ายฮอ
    • แนวทางการพัฒนาของ BUNNY VILLA*
    • เริ่มต้นพัฒนาสายกระต่ายฮอลแลนด์ลอปเป
    • ลักษณะนิสัยกระต่ายฮอลแลนด์ลอป Holland Lop
    • การเลือกซื้อกระต่ายฮอลแลนด์ลอป Holland Lop
    • เตรียมความพร้อมก่อนรับกระต่ายฮอลแลนด&#
    • ความรู้เบื้องต้นก่อนการผสมพันธุ์กระต
    • ความเข้าใจเกี่ยวกับยีนส์ Vienna และกระต่ายส&#
    • การบรีดกระต่ายข้ามสายพันธุ์ (ในมุมมองข&
    • เทคนิคการผสมพันธุ์เบื้องต้น
    • เทคนิคการผสมพันธุ์เบื้องต้น
  • CONTACT US
  • News&Update
Picture

ความรู้เบื้องต้นก่อนการผสมพันธุ์กระต่าย

             ครั้งแรกที่เราได้เห็นหลานๆที่เกิดจากเจ้าตัวเล็กที่เราเลี้ยงมาตั้งแต่ยังเป็นลูกกระต่าย มันจะรู้สึกตื่นเต้น ดีใจแบบบอกไม่ถูก       ถ้าใครเคยคงจะเข้าใจความรู้สึก ลุ้นซะยิ่งกว่าตัวเองจะคลอดลูกซะอีก ตัวก็เล็กจะคลอดได้ไหม ลูกจะตายไหม แม่จะเหนื่อยเกินไปหรือเปล่า คิดมากมายต่างๆนานา จริงๆแล้วการเลี้ยงลูกกระต่ายที่เกิดใหม่นั้นจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ใช่ 

             เรามาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนจะเป็นคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่กันดีกว่า อย่างแรกที่ควรจำให้ดีคือ ลูกกระต่ายนั้นมีโอกาศตายสูงมากใน 10 วันแรกหลังจากคลอด เพราะลูกกระต่ายนั้นจะเกิดมาโดยไม่มีขนเลย จึงทำให้เค้าไม่สามารถสร้างความอบอุ่นให้กับตัวเองได้ แม่กระต่ายดีนั้นจะมีการทำรังที่ดี และถอนขนตัวเองออกมาไว้ในรังคลอด เพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับลูกๆ ถ้าลูกกระต่ายที่ออกมามีหลายตัวเค้าจะนอนรวมกันเป็นกระจุกเพื่อสร้างความอบอุ่นให้แก่กันและกัน เพราะฉนั้นให้ระวังเป็นพิเศษสำหรับลูกกระต่ายที่เกิดมาแค่ตัวเดียว เพราะเค้าจะมีโอกาศหนาวตายได้ง่ายๆ ในบางครั้งสำหรับแม่กระต่ายมือใหม่เราอาจจำเป็นต้องช่วยเค้าตัดสายรก และทำความสะอาดลูกกระต่ายด้วยน้ำอุ่นที่สะอาด
           เมื่อเรามั่นใจว่าแม่กระต่ายคลอดลูกหมดแล้วให้คอยสังเกตดูว่าลูกกระต่ายอยู่รวมกันในรังคลอดหรือไม่ ถ้าลูกกระต่ายอยู่กระจัดกระจายกัน ให้เราช่วยจับตัวพวกเค้ามาไว้รวมกันตรงที่มีขนของแม่เยอะๆ เพื่อให้เค้าอบอุ่น (ไม่ต้องแปลกใจนะครับ ลูกกระต่ายนั้น เราสามารถจับตัวเค้าได้) โดยปกติแล้วผู้เลี้ยงควรจะเพิ่มปริมาณอาหารให้กับแม่กระต่ายตั้งแต่ก่อนคลอด ประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วเมื่อลูกคลอดแล้วแม่กระต่ายจะมีความต้องการปริมาณสารอาหารที่มากขึ้นเพื่อผลิตน้ำนม จึงควรค่อยๆ เพิ่มปริมาณอาหาร และเปลี่ยนมาใช้หญ้าอัลฟาฟ่า เพื่อเพิ่มโปรตีนและสารอาหารที่จำเป็นต่อแม่กระต่ายในขณะเลี้ยงลูก  หลังจากที่ลูกกระต่ายหย่านมแล้วนั้น จะอายุประมาณ 50-60 วันให้ลดปริมาณอาหารของแม่กระต่ายลงด้วย เพื่อให้ร่างกายเค้าผลิตนมที่ลดลง ซึ่งช่วยหลีกเลี่ยงโอกาศที่จะเกิดปัญหาเต้านมอักเสบตามมาอีกด้วย


Powered by Create your own unique website with customizable templates.